บรรจุภัณฑ์ Delivery

เลือกบรรจุภัณฑ์ Delivery สะดวกร้าน สบายลูกค้า

Food Delivery โมเดลธุรกิจที่มีความสำคัญกับร้านอาหารเป็นอย่างมาก ทั้งในสถานการณ์วิกฤตไวรัสที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้บริการ Food Delivery หรือแม้แต่หลังจากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติแล้วก็ตาม เชื่อได้ว่าผู้บริโภคจะยังคงต้องการความสะดวกสบายในการใช้บริการ Food Delivery อย่างแน่นอน นอกจากร้านอาหารต้องปรับตัวในเรื่องช่องทางการขายและการจัดส่งแล้ว Packaging ยังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จะรักษาคุณภาพอาหาร และส่งมอบบริการที่ประทับใจให้กับลูกค้าได้ และต้องแน่ใจด้วยว่าอาหารของร้านจะส่งถึงมือลูกค้าอย่างสมบูรณ์ ภาชนะที่จัดใส่แข็งแรงไม่บุบหรือรั่วไปก่อน

  • Customer Journey สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์
  • สะดวกร้าน สบายลูกค้า
  • ความปลอดภัยในการอุ่นร้อน
  • เลือกแบบไหน ใช้กับเมนูอะไรดี
  • ของมันต้องมี บนโต๊ะที่ร้านมี เดลิเวอรี่ก็ต้องมี!

Customer Journey สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์

ก่อนเลือกใช้ Packaging ร้านอาหารควรรู้ Customer Journey จะเกิดอะไรขึ้นกับอาหารของเรา ตั้งแต่ออกจากร้านไปจนถึงตอนที่ลูกค้ารับประทาน เมื่อรู้แล้วจะออกแบบได้ว่าควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รูปแบบไหน และจัดเรียงอาหารอย่างไรให้เหมาะสม เช่น

อาหารออกร้าน –> ขนส่ง –> ถึงบ้านลูกค้า ลูกค้ารับอาหาร –> ลูกค้าเปิดฝากล่องที่ 1 –> ลูกค้าเปิดฝากล่องที่ 2 –> ลูกค้าเทรวมกัน –> ลูกค้านำอุ่นในไมโครเวฟ –> ลูกค้าฉีกซองราดซอส/เทน้ำจิ้ม –> ใช้ช้อนส้อมที่ร้านให้มา –> ลูกค้ารับประทาน
ซึ่งลำดับเหตุการณ์เหล่านี้แตกต่างกันไปตามแต่ประเภทอาหาร และมาตราฐานการบริการที่ออกแบบโดยร้านอาหาร

การที่ร้านต้องคำนึงถึง Customer Journey เพราะข้อแตกต่างระหว่างรับประทานที่ร้าน กับซื้อกลับบ้าน หรือเดลิเวอรี่ นั่นคือเรื่องของเวลาในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ควรเลือกที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสม ทั้งการแยกส่วนของอาหารเพื่อรักษารสชาติของอาหารที่ไม่ปะปนกัน เมื่อไปถึงมือลูกค้าลูกค้าสามารถนำมารวมกันได้ มากไปกว่านั้นลูกค้าสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ หรือยังสามารถเก็บอุณหภูมิจากหน้าร้านไว้ได้ และอีกสิ่งที่ต้องคิดเผื่อคือความสะอาดมือ ลูกค้าสามารถหยิบจับบรรจุภัณฑ์ในส่วนต่าง ๆ แล้วมือยังคงสะอาดอยู่ เคยสั่งอาหารมาแล้วกว่าจะได้กิน ต้องเดินไปล้างมือหลายต่อหลายรอบ หรือหมดทิชชู่ไปหลายแผ่นมั้ย? นั้นคือวิธีการที่ไม่สร้างความไม่สะดวกสบายให้กับลูกค้า

บรรจุภัณฑ์ Delivery

สะดวกร้าน สบายลูกค้า

นอกจากจะคำนึงถึงความสะดวกของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญแล้ว ต้องไม่ลืมความสะดวกต่อการปฏิบัติงานของร้านด้วย

ควรเป็นบรรจุภัณฑ์ที่หาง่าย มีจำหน่ายตลอดเวลาเพื่อคงมาตราฐานในการปฏิบัติงาน หากต้องเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์บ่อย ๆ แล้ว อาจเกิดการผิดพลาดในการจัดเตรียมอาหารได้

ลดการดัดแปลงให้น้อยที่สุด เลือกที่เหมาะสมกับเมนูเดลิเวอรี่ของร้านไปเลย หรือเลือกที่ต้องมีขั้นตอนการเตรียมบรรจุภัณฑ์ให้น้อยที่สุด

ต้องสามารถควบคุมต้นทุนได้ อย่าลืมคิดค่าบรรจุภัณฑ์นี้ลงในต้นทุนของอาหารด้วย บรรจุภัณฑ์มีหลายเกรดเลือกที่เหมาะสมกับอาหาร เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเพราะอย่างไรก็ตามบรรจุภัณฑ์บ่งบอกมาตรฐานการบริการ เสมือนเป็นหน้าตาของร้าน

ไขข้องข้องใจ พลาสติกแบบไหนเข้าไมโครเวฟได้

พลาสติกในปัจจุบันมีการพัฒนาให้บางชนิดสามารถทนความร้อน และนำเข้าอุ่นในไมโครเวฟได้ นั่นคือพลาสติกประเภท Polypropylene (PP) หรือสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์สามเหลี่ยมวน มีหมายเลข 5 และอักษร PP
พลาสติกอีกแบบหนึ่งที่ พอจะ เข้าไมโครเวฟได้ คือพลาสติกที่มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมวนและมีหมายเลข 1,2,4 ซึ่งสามารถเข้าไมโครเวฟได้แค่พออุ่นเท่านั้น ไม่เหมาะกับการอุ่นร้อนด้วยความร้อนสูง นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากสัญลักษณ์ “Microwave Safe” ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายตู้ไมโครเวฟ

บรรจุภัณฑ์ Delivery
เลือกแบบไหน ใช้กับเมนูอะไรดี

กล่องอาหารช่องเดียว พร้อมฝา

เหมาะสำหรับอาหารจานเดียว เช่น ข้าวไข่เจียว ข้าวผัด ผัดซีอิ๊ว สปาเก็ตตี้ที่มีการผัด (ไม่มีน้ำราด) สเต็กต่าง ๆ (เฉพาะส่วนอาหารที่แห้ง) หรืออาหารที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำ หากเป็นอาหารจานเดียวที่มีน้ำราดหรือน้ำซุปแยก เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู สามารถใช้กล่องอาหารช่องเดียวได้ ส่วนตัวน้ำราด น้ำซุป ควรแยกใส่ใต้ถ้วยเล็ก

บรรจุภัณฑ์ Delivery

กล่องอาหาร 2-5 ช่อง พร้อมฝา

เหมาะสมสำหรับข้าวพร้อมกับข้าว และอาหารที่ต้องมีเครื่องเคียง เช่น อาหารญี่ปุ่น ที่ต้องคำนึงไม่ให้อาหารแต่ละชนิดปะปนกันจนเสียรสชาติ หรือสามารถแยกข้าวและแยกกับข้าวเป็นสัดส่วน เพื่อไม่ให้ข้าวดูดน้ำไปทั้งหมด การแยกช่องอาหารในกล่องใส่อาหารนอกจากจะช่วยเรื่องรสชาติแล้ว การจัดวางอาหารเป็นสัดส่วนยังช่วยให้อาหารของเราดูน่ากินมากยิ่งขึ้นด้วย

บรรจุภัณฑ์ Delivery

ถ้วยอาหารทรงกลม พร้อมฝา

เหมาะสำหรับข้าวหน้าต่าง ๆ สไตล์ญี่ปุ่น (ที่ไม่มีน้ำซอสเยอะ) เช่น ข้าวหน้าปลาซาบะเทริยากิ หรือหากเป็นอาหารไทยเหมาะสำหรับกับข้าว และแกงต่าง ๆ

บรรจุภัณฑ์ Delivery

ถาดใส่อาหารทรงยาว พร้อมฝา

เหมาะสำหรับใส่ซูชิ ของทอด อาหารปิ้งเสียบไม้ อาหารทานเล่น เช่น เกี้ยวซ่า สลัดโรล ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือจะใช้ใส่สเต็กปลาซาบะ เสต็กปลาแซลมอล หมูทอดทงคัตซึ โดยถาดอาหารรูปแบบนี้จะเหมาะกับอาหารที่มีรูปทรงสวยงาม ต้องการโชว์รูปทรงและสีสันของอาหาร เพราะตัวถาดสีดำจะเตี้ย และฝาใสจะลึก ทำให้มองเห็นรูปทรงและสีสันของอาหารได้ชัดเจน

บรรจุภัณฑ์ Delivery

โดยบรรจุภัณฑ์จาก เอโร่ทั้ง 6 ชนิดนี้มอบความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค ตัวถาดสีดำมีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมวน มีหมายเลข 5 และอักษร PP สามารถนำเฉพาะตัวถาดไปอุ่นร้อนในไมโครเวฟได้ทันที ทนความร้อนได้ถึง 100 องศาเซลเซียส (ตัวฝาไม่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้) สนใจเลือกซื้อกล่องใส่อาหารช่องเดียว กล่องอาหาร 2-5 ช่อง  และ ถ้วยอาหารทรงกลม ได้ที่ Makro click 

กล่องอาหาร 2 ชั้น

เหมาะสำหรับอาหารที่ต้องมีซอสเป็นส่วนผสมหลัก เช่น ข้าวแกงกระหรี่ สปาเก็ตตี้ซอสมะเขือเทศ เดิมทีอาจจะใส่ถุงหรือกล่องแยกน้ำซอส แต่กล่องอาหาร 2 ชั้น จะสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้ามากขึ้น เมื่อน้ำซอสและเส้นสามารถเทรวมกันได้ในบรรจุภัณฑ์ที่ทางร้านส่งมาได้เลย การเลือกบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ต้องคำนึงว่าสามารถใส่อาหารร้อนได้ และสามารถใส่อาหารที่เป็นของเหลวได้ โดยเฉพาะฝาที่ต้องปิดสนิทแน่นหนาแต่ตอนเปิดต้องสะดวก และกล่องอาหาร 2 ชั้นยังทำให้อาหารของร้านดูพรีเมียม มีเอกลักษณ์มากขึ้นอีกด้วย

กล่องอาหาร 2 ชั้นจากเอโร่ มอบความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคได้ โดยทั้งตัวกล่องและฝามี สัญลักษณ์สามเหลี่ยมวน มีหมายเลข 5 และอักษร PP สามารถนำทั้งตัวกล่องและฝาอุ่นร้อนในไมโครเวฟได้สบาย สนใจเลือกซื้อกล่องอาหาร 2 ชั้น ได้ที่ Makro ทุกสาขา

บรรจุภัณฑ์ Delivery

ของมันต้องมี บนโต๊ะที่ร้านมี เดลิเวอรี่ก็ต้องมี!

ลองนึกดูว่าหากมีลูกค้ามาทานที่ร้าน เราก็เสิร์ฟออเดอร์ถึงที่โต๊ะ มีอุปกรณ์การรับประทานพร้อม ช้อนส้อม เครื่องเคียง เครื่องปรุง กระดาษทิชชู่ ไม้จิ้มฟัน อยู่บนโต๊ะหยิบจับได้ง่าย พร้อมให้ลูกค้าทานอย่างสะดวกสบาย เพราะฉะนั้นแม้ซื้อกลับบ้าน หรือส่งเดลิเวอรี่หากยังคงรักษาประสบการณ์ความสะดวกสบายนั้นไว้ได้ก็จะยิ่งทำให้ลูกค้าประทับใจ แต่การแพ็ค
อย่าลืมเรื่องความสะอาดมือ ความมันและน้ำซอสต่าง ๆ ระวังอย่างให้เปื้อนหีบห่อของอุปกรณ์

บรรจุภัณฑ์ Delivery

อ่านเพิ่มเติม เรื่องเดลิเวอรี่

  • ขายอาหารเดลิเวอรี่ อย่าลืมต้นทุนแฝง (Link to: https://bit.ly/3a1jBIa )
  • ขายผ่าน App Food Delivery หรือขี่มอเตอร์ไซต์ส่งเอง แบบไหนดีกว่ากัน? (Link to: https://bit.ly/3a4n20G )
  • ต่อยอด Food Delivery เอาดี ๆ รวยได้! (Link to: https://bit.ly/3c5lzIM )
  • ยิ่งวิกฤตไวรัส ยิ่งต้องสะอาด Food Safety เวอร์ชั่นเดลิเวอรี่ (Link to: https://bit.ly/2RKdd1H )

แท็กที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง